ทิศทางการพัฒนาและจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด ได้กำหนดทิศทางการพัฒนา และจัดการศึกษา   มีสาระสำคัญภาพรวม ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด นำไปสู่การปฏิบัติ รายละเอียด ดังนี้

วิสัยทัศน์   (Vision)  

“องค์กรคุณภาพแห่งอนาคต”

นิยามศัพท์

องค์กร หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน

คุณภาพ หมายถึง คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานตำแหน่ง หลักสูตรเหมาะสมตามวัยผู้เรียน   ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สมรรถนะผู้เรียน การให้บริการต่อผู้รับบริการ แหล่งเรียนรู้หลากหลาย ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ พหุวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

แห่งอนาคต  หมายถึง การบริหารจัดการโดยใช้นวัตกรรม


พันธกิจ  (Mission)

  1. เสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตตามพระบรมราโขบาย และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน สู่โลกดิจิทัล

  3. สร้างเสริมการพัฒนานวัตกรรม

  4. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล


เป้าประสงค์ (Goals)

  1. ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินชีวิตตามพระบรมราโขบาย หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  2. ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพตามมาตรฐาน

  3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีนวัตกรรมในการจัดการศึกษา

  4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ


ค่านิยมขององค์กร (Core Value)     

“ยอดเยี่ยม  ยิ้มแย้ม  ยับยั้ง  ยั่งยืน”

นิยามศัพท์

            ยอดเยี่ยม หมายถึง  ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ยึดมั่นธรรมาภิบาล

            ยิ้มแย้ม    หมายถึง  การให้บริการด้วยความมีน้ำใจ จิตบริการและเสมอภาค

            ยับยั้ง       หมายถึง  ระงับ ความคิด วาจา ท่าทาง ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก

            ยั่งยืน      หมายถึง  พวกเราชาว สพม.จบตร จะรักษาคงไว้ซึ่ง คุณธรรม ความสามารถ ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร


วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)

“ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ”

นิยามศัพท์

            ร่วมคิด    หมายถึง  การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ

            ร่วมทำ    หมายถึง  การให้บริการด้วยความมีน้ำใจ จิตบริการและเสมอภาค

            ร่วมรับผิดชอบ      หมายถึง  การยอมรับผิด และรับชอบในผลที่เกิดจากการปฏิบัติ  

 


รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

              การบริหารจัดการศึกษา โดยใช้กระบวนการ SPDCA เป็นกลไกดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดความชัดเจน เป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล อย่างเป็นระบบ มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรคุณภาพแห่งอนาคต ประกอบด้วย

             S – Synthesize  (การสังเคราะห์ คิดวิเคราะห์ แยกแยะ)

            P – Plan  (การวางแผน กระบวนการทำงาน ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน)

            D – Do     (การดำเนินการตามแผนให้เห็นผลลัพธ์จริง)

            C – Check (การตรวจสอบ ประเมินผล ความถูกต้องของการทำงาน )

            A – Act     (การปรับปรุง สรุปผล และนำผลมาปรับปรุงแก้ไข พัฒนา วางแผนใหม่)

“เรียนรู้ให้เพลิน ด้วย Learn to Be” เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจไปสู่เป้าหมายในการ เสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพ ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ ใน 3 มิติ (3 ดี) ประกอบด้วย

            เรียนดี    – การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            อยู่ดี    – ความปลอดภัย ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โอกาสทางการศึกษา

            อนาคตดี    – การเรียนรู้สู่อาชีพในอนาคต ด้วยพหุปัญญา


นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

            1. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศึลธรรม และประชาธิปไตย รวมทั้งเสริมสร้างการมีจิตอาสา เป็นพลเมืองที่ดี ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

           2. ปรับปรุงหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะให้กับผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ

           3. ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ของผู้เรียน ตามแนวทางการประเมิน PISA

           4. พัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ อย่างเต็มตามศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

           5. เสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้ง 4 มิติ คือ ภัยจากความรุนแรง, ภัยจากการล่วงละเมิดสิทธ, ภัยจากอุบัติภัย, ภัยจากสุขภาพกาย สุขภาพจิต

           6. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยการป้องกัน เฝืาระวัง และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น สามารถพึ่งตนเองได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

           7. ลดภาระการประเมินสถานศึกษา มุ่งพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะตาม มาตรฐานตำแหน่ง ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่จนเกิดผลดีแก่ราชการและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์


กลยุทธ์ (Strategy)

กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้าง ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีทักษะการดำเนินชีวิตตามพระบรมราโชบายและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะตามช่วงวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน 

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนา ผู้เรียนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สู่โลกดิจิทัล  

กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริม ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล